top of page
เตรียมตัวอย่างไร
เวลา

ประเทศในยุโรปตะวันตกและเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันออกได้เริ่มต้น "เดย์ไลท์เซฟวิ่งไทม์ - Daylight Saving Time: DST" คือการปรับเปลี่ยนเวลา ทำให้ช่วงเวลากลางวันเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง โดยยุโรปกำหนดวัน "เดย์ไลท์เซฟวิ่งไทม์" ไว้ที่วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมและไปสิ้นสุดเอาในวัน อาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ดังนั้นเวลาของประเทศแถบยุโรปกลาง ช่วงเดือนอาทิตย์สุดท้ายของเดือน มีนาคมจนถึงวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคมจะช้ากว่าเมืองไทย 5 ชั่วโมง และในช่วงวันจันทร์สุดท้ายของเดือนตุลาคมจนถึงวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคมเวลาของประเทศในแถบยุโรปกลางนี้จะช้ากว่าเมืองไทย 6 ชั่วโมง

 

คุณควรศึกษาโซนเวลาของที่นี่ก่อนเดินทางนะคะ จะได้กำหนดเวลานอนได้ถูกต้อง วิธีแก้อาการ Jet lag หรือการปรับเวลาของร่างกายไม่ได้ คือ พยามฝืนตัวเองอย่านอนกลางวัน และหัวค่ำ ให้นอนให้ ดึกที่สุดในช่วงปรับตัว 2 วันแรกค่ะ

socket-03.jpg
เตรียมเสื้อผ้าข้าวของอย่างไร

ของใช้ประจำตัวที่สำคัญ ประเภท ยาประจำตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ที่โกนหนวด หวี เครื่อง สำอาง โลชั่นทาผิว ลิปมัน และหากมีผิวบอบบางระคายเคืองง่าย ก็ควรนำสบู่ ครีมล้างหน้าติดมาเองด้วยก็ได้ค่ะ

เสื้อผ้า ควรจัดเตรียมให้เหมาะกับสภาพอากาศค่ะ ดังนั้นก่อนเดินทางเช็คสภาพอากาศหน่อยก็ดีค่ะ และควรวางแผนการใส่เสื้อผ้าในแต่ละวันก่อนเดินทาง เสื้อผ้าจะได้ไม่ขาดหรือเกินโดยไม่จำเป็นค่ะ ถ้าช่วงที่คุณมาเป็นช่วงอากาศหนาว ควรเตรียมลองจอห์น เสื้อไหมพรม หมวกไหมพรม ถุงมือ ผ้าพันคอ และเสื้อกันหนาวที่อบอุ่นให้พร้อมค่ะ

รองเท้า ถ้าซื้อรองเท้าใหม่ควรทดลองใส่เดินให้ชินก่อนนะคะ เพราะรองเท้าใหม่บางทีก็กัดเหมือนกันค่ะ ไม่อยากให้คุณต้องมาทรมานหากต้องใส่รองเท้ากัดเดินเที่ยวที่นี่ค่ะ แนะนำให้นำร้องเท้าหุ้มส้นที่ใส่สบายหรือรองเท้าผ้าใบสำหรับใส่เดินเที่ยวค่ะ หากมาหน้าที่มีหิมะควรใช้รองเท้าที่มีดอกยางด้านล่าง ไม่ควรใช้รองเท้าพื้นเรียบเพราะจะลื่นง่ายค่ะ

กระเป๋าสะพายหรือเป้ใบพอประมาณ น่าจะมีไว้ใส่สัมภาระต่างๆ ระหว่างเดินเที่ยวค่ะ

กล้องและฟิล์ม ควรนำฟิล์ม แผ่นบันทึกภาพ สาย USB หรือแม้แต่ USB flash drive ที่ชาร์ตไฟ และแบตเตอรี่สำรองติดตัวมาให้พร้อมนะคะ

ไม่ควรนำเครื่องประดับราคาสูงติดตัวไปด้วยเพราะเป็นอันตราย กับตัวและเสี่ยงจากการสูญหาย

อื่นๆ แว่นกันแดด หมวก ร่มขนาดเล็ก ครีมทากันแดด หนังสืออ่านเล่น เกมส์ พิจารณากันตาม สมควรค่ะ

socket-03.jpg
ภาษา

ประเทศสาธารณรัฐเชคมีภาษาเชคเป็นภาษาประจำชาติ
ประเทศฮังการีมีภาษาฮังการีเป็นภาษาประจำชาติ
ประเทศออสเตรียมีภาษาเยอรมันเป็นภาษาประจำชาติ
ในแหล่งนักท่องเที่ยว ผู้คนอาจใช้ภาษาอังกฤษบ้าง

socket-03.jpg
กระเป๋าเดินทาง

ควรจัดของให้พอดีกับกระเป๋าเดินทาง โดยสายการบินทั่วไปจะกำหนดน้ำหนักกระเป๋าทั่วไปแต่ละใบไม่เกิน 23 กก. ส่วนกระเป๋าถือขึ้นเครื่องไม่เกิน 7 กก. ถ้าหากน้ำหนักเกินคุณต้องจ่ายเงินเพิ่มตามที่สายการบินนั้นๆ ระบุค่ะ และเนื่องจากลักษณะทัวร์ของเราเป็นการทัวร์แบบเป็นกันเองจึงไม่มีพนักงานบริการยกกระเป๋าให้ ท่านต้องยกกระเป๋าเองค่ะ และในการเข้าพักที่พักในเมืองเก่า เช่น ที่ฮาลล์สตัทท์และเชสกี้ ครุมลอฟ ที่พักจะไม่มีลิฟท์ คุณจึงจำเป็นต้องจัดกระเป๋าใบเล็กสำหรับคืนนั้นๆ และเอากระเป๋าใหญ่ไว้ในรถ ข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือ คุณควรทำสัญลักษณ์บนกระเป๋าของท่านให้ต่างจากกระเป๋าใบอื่นๆ เช่น ผูกโบว์ เพื่อป้องกันคนที่ใช้กระเป๋าที่คล้ายกันกับเราหยิบผิดไปค่ะ

socket-03.jpg
เตรียมเงินอย่างไร

การแลกเงิน

สกุลเงินที่ประเทศเชคจะใช้เงินเชคคราวน์ ส่วนที่ประเทศออสเตรีย (กรุงเวียนนา) และสโลวาเกีย (กรุงบราติสลาว่า) จะใช้เงินยูโรและเนื่องจากที่ประเทศไทยไม่มีที่รับแลกเงินเชคคราวน์ อ้อมจึงขอแนะนำว่าคุณควรแลกเงินยูโรมาจากประเทศไทยแล้วนำเงินยูโรมาแลกเป็นเงินเชคคราวน์ที่ประเทศเชคค่ะ แต่ถ้าหากว่าคุณมีเงินสกุลอื่นๆ เช่น เงินดอลลาร์ เงินปอนด์ หรือคุณอยู่ต่างประเทศอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาแลกเป็นเงินเชคคราวน์หรือเงินยูโรได้ที่นี่ค่ะ ประเทศเยอรมันใช้เงินยูโร ส่วนประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใช้เงินสวิสฟรังค์ค่ะ

เงินติดตัว

ท่านควรพกเงินสดติดตัวประมาณ 500-800 ยูโร ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับซื้อของที่ระลึกหรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดค่ะ แต่ถ้าหากไม่พอท่านสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มของไทยกดเงินสดที่เครื่องเอทีเอ็มที่นี่ได้ โดยท่านควรสอบถามธนาคารที่คุณมีบัตรเครดิตหรือเดบิตว่าบัตรคุณสามารถกดเงินสดต่างประเทศได้หรือไม่ โดยค่าธรรมเนียมในการกดเงินสดแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 100-150 บาทต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารนั้นๆ ระบุค่ะ และถ้าไม่อยากพกเงินสดติดตัวเยอะๆ ร้านค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นี่ส่วนใหญ่ก็รับทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิต Visa หรือ Master Card ค่ะ

socket-03.jpg
ปลั๊กไฟ

ไฟฟ้าในประเทศต่างๆ มีระบบไฟฟ้าที่แตกต่างกัน แต่ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้ได้กับทุกระบบแล้วค่ะ แต่จะต่างกันก็ตรงที่หัวปลั๊กโดยในยุโรปจะมีปลั๊กแบบหัวกลมสองขา คุณจึงควรเตรียม “อแดปเตอร์” มาด้วยค่ะ

socket-03.jpg
bottom of page